ต่อมพาราไทรอยด์

30

image051

– เป็นต่อมเล็กๆ สีแดงสด 4 ต่อม ติดอยู่กับต่อมไทรอยด์

– เป็นต่อมไร้ท่อที่สำคัญต่อชีวิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมาก (แต่ไม่พบในปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ)

h5550931 (1)

ฮอร์โมนที่สร้าง

พาราธอร์โมน (parathormone)

อวัยวะเป้าหมาย

กระดูก ท่อไต และลำไส้เล็ก

หน้าที่ของ Parathormone

  1. เพิ่มการละลาย Ca2+ และ PO3- ออกจากกระดูกและฟัน
  2. เพิ่มการดูด Ca2+ และ PO3- ที่ลำไส้ โดยอาศัยวิตามิน D ช่วย
  3. เพิ่มการดูด Ca2+ และ PO3- กลับคืนที่ท่อของหน่วยไต

ความผิดปกติของปริมาณ Parathormone

1. Hypoparathyroidism เป็นความผิดปกติเนื่องจากพาราธอร์โมนต่ำเกินไป

อาการ – Ca2+ และ PO3- ในเลือดต่ำ

1.1. กล้ามเนื้อชักกระตุก

1.2. ปอดไม่ทำงาน

1.3.เลือดแข็งตัวช้าเมื่อเกิดบาดแผล

การแก้ไข ฉีด Parathormone ร่วมกับวิตามิน D

2. Hyperparathyroidism เป็นความผิดปกติเนื่องจากพาราธอร์โมนมากเกินไป

อาการ – Ca2+ และ PO3- ในเลือดสูง

2.1. Ca2+ สะสมมากที่หัวใจ ปอด ทำให้แข็ง

2.2. เลือดแข็งตัวเนื่องจากเกิดบาดแผล

2.3. กระดูกบาง ฟันหัก และผุง่าย

การแก้ไข ฉีด Calcitonin เพื่อต้านการทำงานของ Parathormone

การทำงานของต่อมพาราไทรอยด์ในการควบคุมสมดุลของแคลเซียม

1 (88)

ภาพ ก- ข เป็นการควบคุมสมดุลของแคลเซียม ( Ø หมายถึงการยับยั้ง )
ภาพ ก. ควบคุมโดยแคลซิโทนิน ภาพ ข. ควบคุมโดยพาราทอร์โมน

อ้างอิง ::

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

ครู วัชวัลย์ ครุฑไชยันต์. ต่อมพาราไทรอยด์. วันที่ค้นข้อมูล 08 กุมภาพันธ์ 2557, จาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต เวปไซด์: http://watchawan.blogspot. com/2010/05/blog-post_9562.html

Leave a comment